โครงการอบรมการเขียนโครงการวิชาชีพ
วันที่ 7 กันยายน 2555
ณ ห้องประชุมดอกคูณ อาคาร 4 ชั้น 3 วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียน เกิดทักษะในการเขียนรายงาน
2. เพื่อให้นักเรียน สามารถเขียนรายงานโครงการวิชาชีพได้ถูกต้อง
3. เพื่อให้นักเรียน สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ในการอบรมไปใช้ประโยชน์ต่อไป
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่เรียนในรายวิชา “โครงการ” วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น
นักเรียนระดับ ปวช3. แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 20 คน
นักเรียนระดับ ปวช3. แผนกวิชาการบัญชี จำนวน 5 คน
นักเรียนระดับ ปวช3. แผนกวิชาช่างยนต์ จำนวน 24 คน
นักศึกษาระดับ ปวส2. แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง จำนวน 12 คน
รวม จำนวน 61 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจ นักศึกษาผู้เข้าร่วมอบรม วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น ที่มีความคิดเห็นต่อโครงการโครงการอบรมการเขียนโครงการวิชาชีพ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สอบถามสถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นการตรวจสอบรายการ (Cheek List) จำนวน 2 ข้อ
ตอนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดโครงการอบรมการเขียนโครงการวิชาชีพ แบ่งเป็น 3 ด้าน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 5 ระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 15 ข้อ
ตอบที่ 3 สอบถามข้อเสนอแนะมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบเขียนตอบได้โดยเสรี
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแจกแบบสอบถามให้นักเรียน วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น และเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม
การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม หากพบว่าแบบสอบถามฉบับใดมีคำตอบไม่สมบูรณ์จะไม่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วแปลความหมายค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน
นัฏยา ลิ้มไพบูลย์
โครงการอบรมประกอบธุรกิจร้านถ่ายเอกสารและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักศึกษาผู้พิการ
วันที่ 24 กรกฎาคม 2555
ณ ร้าน Rama Copy One จังหวัดขอนแก่น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษา ผู้พิการได้นำความรู้ทางวิชาชีพให้เกิดประโยชน์
2. เพื่อให้นักศึกษา ผู้พิการมีรายได้ระหว่างเรียน
กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาผู้พิการ และนักศึกษาพี่เลี้ยง วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจ นักศึกษาผู้เข้าร่วมอบรม วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น ที่มีความคิดเห็นต่อโครงการอบรมประกอบธุรกิจร้านถ่ายเอกสารและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักศึกษาผู้พิการแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สอบถามสถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นการตรวจสอบรายการ (Cheek List) จำนวน 2 ข้อ
ตอนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดโครงการอบรมประกอบธุรกิจร้านถ่ายเอกสาร และผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักศึกษาผู้พิการ แบ่งเป็น 3 ด้าน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 5 ระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 15 ข้อ
ตอบที่ 3 สอบถามข้อเสนอแนะมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบเขียนตอบได้โดยเสรี
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแจกแบบสอบถามให้นักศึกษาผู้พิการ ครู และนักศึกษาพี่เลี้ยง วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น และเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม
การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม หากพบว่าแบบสอบถามฉบับใดมีคำตอบไม่สมบูรณ์จะไม่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วแปลความหมายค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน
[nggallery id=2]
นัฏยา ลิ้มไพบูลย์
Face Book เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูที่ปรึกษาห้องเรียนร่วมนักศึกษาปกติและนักศึกษาพิเศษ บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร
การได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูผู้สอนและครูที่ปรึกษา นักศึกษาพิเศษผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร ซึ่งจัดการเรียนการสอนร่วมกับนักศึกษาปกติ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญ โดยเฉพาะครูที่เป็นครูที่ปรึกษาต้องทำหน้าที่เป็นครูผู้ดูแลนักศึกษาทั้งที่ปกติและนักศึกษาผู้พิเศษในห้องเดียวกันในด้านการเรียน ส่วนตัว สังคม ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาเมื่อประสบปัญหาและอุปสรรค ที่อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษา และการปรับตัว ในการดำรงชีวิตในสถาบัน สังคม ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาห้องเรียนร่วมจะมีภาระงานในการสอนและดูแลมากขึ้นเป็นสองเท่า
ดิฉันค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อการศึกษาพิเศษ และได้รับชมรายการจากเว็บไซต์โทรทัศน์ครู ตอน “โรงเรียนการศึกษาพิเศษ : การเรียนร่วมตอน 1 และตอน 2 – Special Schools Inclusive Classroom” ซึ่งในเรื่องกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนผู้พิเศษเพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ตนเองกระทำ ฝึกฝนทักษะการอ่านและเขียน ให้ประสบความสำเร็จในการเรียน ประกอบกับได้ชม รายการ Teach & Tech จากเว็บไซต์โทรทัศน์ครู ตอน “เมื่อคุณครูมี Face book ตอนที่ 9 ช่วงที่ 1 และ 2” ทำให้เห็นถึงวิธีในการใช้งาน ซึ่งมีบริการ หรือแอปพลิเคชั่นให้ใช้มากมายบนระบบ Social Network อย่าง Face Book ที่ได้รับความนิยมจากการใช้อย่างมากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก Face Book จะสามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือ โทรศัพท์มือถือ, Tablet อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ทำให้ Face Book สามารถสื่อสารกับนักศึกษาได้รวดเร็วยิ่งกว่าการใช้ E-Mail โดยนักศึกษาจะมีความสะดวกในการรับข้อมูลข่าวสาร สามารถแบ่งปันความรู้ กิจกรรมต่างๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ทำให้ดิฉันตัดสินใจที่จะนำ Face Book มาใช้ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาปกติและนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียน
ดิฉันเริ่มต้นโดยให้นักศึกษาทั้งหมดในห้องเรียนร่วมนักศึกษาปกติกับนักศึกษาพิเศษบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร เรียนรู้การมีและใช้ Face Book การใช้ประโยชน์ในการเรียน และการติดตามช่วยเหลือดูแลเพื่อน จากนั้นได้จัดกลุ่มเฉพาะของนักศึกษาห้องเรียนร่วมนี้ใน Face Book มีการนำข้อมูล ข่าวสาร การจัดกิจกรรม รูปภาพ นัดหมาย ประชุม การสอน เฉพาะกลุ่มห้องเรียนร่วม
จากการประเมินผลการใช้ Face Book เป็นเทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในห้องเรียนร่วมนักศึกษาปกติและนักศึกษาพิเศษบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร พบว่า นักศึกษาทั้งหมดมีความสนใจ สามารถใช้ Face Book ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษา รับรู้ข่าวสาร การนัดหมาย การจัดกิจกรรมต่างๆได้อย่างรวดเร็ว นักศึกษาพิเศษผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารสามารถพัฒนาภาษาการอ่านเขียนได้มากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น แสดงออกในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ตามศักยภาพเนื่องจากสามารถสื่อสารกับเพื่อน ครู และสังคมอื่นได้ทางภาษาเขียน รูปภาพ วิดีโอ ซึ่งง่ายกว่าการใช้ภาษามือในการสื่อสารกับผู้คนปกติ เป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารอีกทางหนึ่งสำหรับนักศึกษาพิเศษบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารให้พัฒนาไปอีกในระดับหนึ่ง
การส่งเสริมให้นักศึกษาปกติและนักศึกษาพิเศษบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร สามารถเรียนรู้ พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้คนปกติได้ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันอย่าง Face Book ครูควรแนะนำให้ใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ พึงระวังการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น เลือกใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ ใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้ Face Book เป็นเทคโนโลยีในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยแบ่งเบาภาระของครูที่ปรึกษาในการสื่อสาร ติดตามนักศึกษาในห้องได้เป็นอย่างดี
นัฏยา ลิ้มไพบูลย์
วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
แรงบันดาลใจจากโทรทัศน์ครูสู่ห้องเรียนร่วมนักศึกษาปกติและนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2555
แรงบันดาลใจจากโทรทัศน์ครู
ดิฉันเป็นครูสอนนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา สอนวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ในปีการศึกษานี้ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ครูที่ปรึกษานักศึกษา ระดับชั้น ปวส.1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จานวนนักศึกษา 19 คน ในกลุ่มนี้มีนักศึกษาปกติ 11 คน และนักศึกษาที่เป็นนักศึกษาพิเศษผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร จานวน 8 คน เมื่อแรกที่ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่นี้ รู้สึกวิตกกังวลใจ จะดาเนินการอย่างไร โดยเฉพาะการจัดการศึกษาโดยการเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติในระดับอาชีวศึกษา
จุดประสงค์ในการจัดห้องเรียนลักษณะนี้ เพื่อต้องการให้นักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร ทั้ง 8 คน มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษาปกติ เนื่องจากชีวิตจริงไม่ได้มีเฉพาะคนที่เป็นเหมือนพวกเขา แต่จะมีบุคคลลักษณะต่างๆ เมื่อจบการศึกษาไปแล้วพวกเขาจะต้องออกไปประกอบอาชีพร่วมกับคนปกติได้ ดิฉันพยายามหาข้อมูลเพื่อนามาใช้สอน ดูแลนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและ
การสื่อสารร่วมกับนักศึกษาปกติจนได้พบรายการครูมืออาชีพ จากเว็บไซต์โทรทัศน์ครูและได้ชมเรื่อง
“ฉันอยากเป็นครู ครูพายุ ตอน 1” ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม(ครูพายุ)โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร เกิดความรู้สึกชื่นชมในความเสียสละและความพยายามในการเรียนรู้ภาษามือเพื่อสื่อสารกับลูกศิษย์ จนครูสามารถสอนนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินให้สามารถว่ายน้าได้ ทาให้เกิดแรงบันดาลใจเห็นแนวทาง ในจัดการศึกษาและดูแลนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งในช่วงแรกได้จัดระบบดูแลนักศึกษากลุ่มนี้โดยวิธีต่างๆ คือ ดิฉันให้นักศึกษาเลือกหัวหน้าห้องเป็นนักศึกษาปกติ 1 คน รองหัวหน้าห้อง เป็นนักศึกษาปกติ 1 คน และนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร 1 คน เพื่อดูแล สื่อสารกับครู เพื่อน และบุคคลอื่น จากนั้นให้นักศึกษาปกติจับคู่เป็นผู้ช่วยเรื่องต่างๆ ดูแลห้องเรียน การเรียน การสื่อสารกับเพื่อน ครู และบางส่วน ช่วยดูแลเพื่อนที่พักในส่วนของนักศึกษาหญิง ซึ่งนับว่าโชคดีที่นักศึกษาปกติมีจิตอาสาในการช่วยเหลือเพื่อน ดิฉันและนักศึกษาปกติเรียนรู้ภาษามือโดยศึกษาจากหนังสือ และจากนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารทั้งแปดคนช่วยกันสอน จนสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกันได้พอสมควร รวมทั้งขอความอนุเคราะห์ครูภาษามือในบางรายวิชา จากโรงเรียนโสตศึกษาขอนแก่น เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยแปลภาษามือให้นักศึกษาได้เข้าใจในเนื้อหารายวิชาที่เรียน
ดิฉันสนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาพิเศษทากิจกรรมร่วมกับนักศึกษาปกติทุกอย่าง เช่น การแสดงร่วมกับนักศึกษาปกติในการแสดงการประสานเสียงด้วยภาษามือ เพลงเรียงความเรื่องแม่ โดยนักศึกษาพิเศษทั้งแปดคนคิดภาษามือประกอบเพลงแสดงร่วมกับเพื่อนนักศึกษาปกติที่ร้องเพลงและเล่นกีตาร์ เป็นต้น
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา 10 สัปดาห์ แม้ว่าในช่วงแรกนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารทั้งแปดคนปรับตัวไม่ได้ เกิดความท้อแท้ ไม่อยากมาเรียน ไม่เข้าใจกฎระเบียบ นักศึกษาปกติไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับพฤติกรรมบางอย่างของเพื่อนนักศึกษาพิเศษ แต่หลังจากที่ดิฉันได้ดาเนินการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น นักศึกษาทั้งสองกลุ่มสามารถสื่อสารกันได้ในระดับหนึ่ง เริ่มปรับตัวเข้าหากัน เห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทุกเรื่อง จนเกิดความผูกพันระหว่างเพื่อนมีความรักสามัคคี ปรองดองกันเป็นอย่างดี ในเชิงวิชาการนักศึกษากลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ไม่เท่ากับนักศึกษาปกติ แต่เขาก็ได้เรียนและแสดงออกตามความสามารถและมีความสุขเป็นที่ยอมรับของสังคม นับว่าความพยายามของดิฉันประสบความสาเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ขอขอบคุณ รายการโทรทัศน์ครู เว็บไซต์ครูมืออาชีพ โดยเฉพาะครูณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม (ครูพายุ) ที่สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิดให้ดิฉันมีกาลังใจในการจัดการศึกษา ดูแลนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารให้เรียนร่วมกับนักศึกษาปกติได้ตามศักยภาพอย่างมีความสุข