แรงบันดาลใจจากโทรทัศน์ครูสู่ห้องเรียนร่วมนักศึกษาปกติและนักศึกษาบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2555

แรงบันดาลใจจากโทรทัศน์ครู

แรงบันดาลใจจากโทรทัศน์ครู

ดิฉันเป็นครูสอนนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา สอนวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ในปีการศึกษานี้ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ครูที่ปรึกษานักศึกษา ระดับชั้น ปวส.1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จานวนนักศึกษา 19 คน ในกลุ่มนี้มีนักศึกษาปกติ 11 คน และนักศึกษาที่เป็นนักศึกษาพิเศษผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร จานวน 8 คน เมื่อแรกที่ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่นี้ รู้สึกวิตกกังวลใจ จะดาเนินการอย่างไร โดยเฉพาะการจัดการศึกษาโดยการเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติในระดับอาชีวศึกษา
จุดประสงค์ในการจัดห้องเรียนลักษณะนี้ เพื่อต้องการให้นักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร ทั้ง 8 คน มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษาปกติ เนื่องจากชีวิตจริงไม่ได้มีเฉพาะคนที่เป็นเหมือนพวกเขา แต่จะมีบุคคลลักษณะต่างๆ เมื่อจบการศึกษาไปแล้วพวกเขาจะต้องออกไปประกอบอาชีพร่วมกับคนปกติได้ ดิฉันพยายามหาข้อมูลเพื่อนามาใช้สอน ดูแลนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและ
การสื่อสารร่วมกับนักศึกษาปกติจนได้พบรายการครูมืออาชีพ จากเว็บไซต์โทรทัศน์ครูและได้ชมเรื่อง
“ฉันอยากเป็นครู ครูพายุ ตอน 1” ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม(ครูพายุ)โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร เกิดความรู้สึกชื่นชมในความเสียสละและความพยายามในการเรียนรู้ภาษามือเพื่อสื่อสารกับลูกศิษย์ จนครูสามารถสอนนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินให้สามารถว่ายน้าได้ ทาให้เกิดแรงบันดาลใจเห็นแนวทาง ในจัดการศึกษาและดูแลนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งในช่วงแรกได้จัดระบบดูแลนักศึกษากลุ่มนี้โดยวิธีต่างๆ คือ ดิฉันให้นักศึกษาเลือกหัวหน้าห้องเป็นนักศึกษาปกติ 1 คน รองหัวหน้าห้อง เป็นนักศึกษาปกติ 1 คน และนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสาร 1 คน เพื่อดูแล สื่อสารกับครู เพื่อน และบุคคลอื่น จากนั้นให้นักศึกษาปกติจับคู่เป็นผู้ช่วยเรื่องต่างๆ ดูแลห้องเรียน การเรียน การสื่อสารกับเพื่อน ครู และบางส่วน ช่วยดูแลเพื่อนที่พักในส่วนของนักศึกษาหญิง ซึ่งนับว่าโชคดีที่นักศึกษาปกติมีจิตอาสาในการช่วยเหลือเพื่อน ดิฉันและนักศึกษาปกติเรียนรู้ภาษามือโดยศึกษาจากหนังสือ และจากนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารทั้งแปดคนช่วยกันสอน จนสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกันได้พอสมควร รวมทั้งขอความอนุเคราะห์ครูภาษามือในบางรายวิชา จากโรงเรียนโสตศึกษาขอนแก่น เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยแปลภาษามือให้นักศึกษาได้เข้าใจในเนื้อหารายวิชาที่เรียน
ดิฉันสนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาพิเศษทากิจกรรมร่วมกับนักศึกษาปกติทุกอย่าง เช่น การแสดงร่วมกับนักศึกษาปกติในการแสดงการประสานเสียงด้วยภาษามือ เพลงเรียงความเรื่องแม่ โดยนักศึกษาพิเศษทั้งแปดคนคิดภาษามือประกอบเพลงแสดงร่วมกับเพื่อนนักศึกษาปกติที่ร้องเพลงและเล่นกีตาร์ เป็นต้น
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา 10 สัปดาห์ แม้ว่าในช่วงแรกนักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารทั้งแปดคนปรับตัวไม่ได้ เกิดความท้อแท้ ไม่อยากมาเรียน ไม่เข้าใจกฎระเบียบ นักศึกษาปกติไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับพฤติกรรมบางอย่างของเพื่อนนักศึกษาพิเศษ แต่หลังจากที่ดิฉันได้ดาเนินการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น นักศึกษาทั้งสองกลุ่มสามารถสื่อสารกันได้ในระดับหนึ่ง เริ่มปรับตัวเข้าหากัน เห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทุกเรื่อง จนเกิดความผูกพันระหว่างเพื่อนมีความรักสามัคคี ปรองดองกันเป็นอย่างดี ในเชิงวิชาการนักศึกษากลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ไม่เท่ากับนักศึกษาปกติ แต่เขาก็ได้เรียนและแสดงออกตามความสามารถและมีความสุขเป็นที่ยอมรับของสังคม นับว่าความพยายามของดิฉันประสบความสาเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ขอขอบคุณ รายการโทรทัศน์ครู เว็บไซต์ครูมืออาชีพ โดยเฉพาะครูณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม (ครูพายุ) ที่สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายความคิดให้ดิฉันมีกาลังใจในการจัดการศึกษา ดูแลนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการสื่อสารให้เรียนร่วมกับนักศึกษาปกติได้ตามศักยภาพอย่างมีความสุข